ในทางสมุนไพรไทย มะระหวานมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการใช้ผลและใบมาดองเป็นยาไว้กิน หรือนำผลและใบมาใช้ในการรักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัว รักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการดื่มน้ำที่ต้มจากผลและใบ – ภาคเหนือบางพื้นที่มีการนำมาช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายได้สะดวกขึ้น นับเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เพราะมะระหวาน 100 กรัม จะให้พลังงานเพียง 13 กิโลแคลอรี่เท่านั้น และยังมีเส้นใยอาหารที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายอีกด้วย เป็นผักที่มีรสชาติจืด หวานกรอบเล็กน้อยโดยธรรมชาติ ทำให้เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย
และมีฟอสฟอรัส ที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย น้ำต้มมะระหวาน จะช่วยลดความดันโลหิต และสลายนิ่วในไตได้ พร้อมช่วยบำรุงหัวใจ และหลอดเลือดให้แข็งแรง เป็นผักที่มีวิตามินซีช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน มีแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก และฟัน – มะระหวาน เป็นไม้เถาเลื้อย เป็นพืชข้ามปี ลักษณะคล้ายพืชตระกูลแตง ลำต้น ใบ ยอดและมือจับคล้ายแตงกวาผสมกับฟักเขียว ดอกเกิดที่ขั้วระหว่างต้นกับก้านใบ เนื้อผลเจริญมาจากฐานรองดอก มีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวในผล
เพียงมีพื้นที่และให้น้ำเพียงพอก็ปลูกได้ แม้บ้านพื้นที่น้อยแถบในเมืองทั่วไปก็ปลูกได้ การปลูกลงดิน ขุดหลุมขนาด กว้างxยาวxลึก ประมาณ 20-50 ซม. คลุกเคล้าดินด้วยเศษพืชและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หากต้องการปลูกเพื่อเก็บยอดอย่างเดียว ควรทำค้างรอบหลุมปลูก ถ้าจะปลูกจำนวนมากต้น ระยะปลูกระหว่างต้น ระหว่างแถวควรอยู่ที่ประมาณ 1×1 หรือ 1×2 เมตร ปลูกเป็นหลุม ๆ เรียงเป็นแถวติดต่อกันไปตามสภาพของพื้นที่ – หลังปลูก รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง คอยกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยคอกบ้างเป็นระยะจนอายุประมาณ 2 เดือน ก็สามารถเก็บยอดมาบริโภคและจำหน่ายได้ เมื่อเก็บเกี่ยวไประยะหนึ่งต้นและใบจะเริ่มโทรมให้เด็ดใบแก่ที่มีสีเหลือง ใบแห้ง ใบที่เป็นโรคออกให้หมด เติมปุ๋ยคอก รดน้ำ และกำจัดวัชพืช การเจริญเติบโตก็จะมีต่อไปได้อีกประมาณ 3-4 ปี
สำหรับต้นพันธุ์ สามารถนำผลสดที่แก่เต็มที่ พร้อมที่จะปลูก ลักษณะของผลจะมีรอยแตก นำมาชำในที่ร่มชื้นหรือชำในถุงชำจนกระทั่งแตกยอดอ่อนแล้วนำไปปลูก หรือทิ้งผลที่แก่จัดไว้กับต้นปลายผลจะเกิดรอยแตกและงอกต้นอ่อน ก็สามารถนำไปปลูกได้เช่นกัน และปลูกได้ตลอดปี – เมื่ออายุประมาณ 4–5 เดือน จะเก็บผลผลิตได้ทั้งยอดและผล ตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต อาจมีศัตรูพืชรบกวนบ้างแต่ไม่มากนัก ศัตรูพืชที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟ แมลงวันผลไม้เจาะผลอ่อนและโรคราแป้ง ซึ่งเกิดที่ใบ ป้องกันได้ด้วยการใช้กับดักกาวเหนียว เพื่อดักตัวแก่และคอยเก็บใบที่เป็นโรคหรือแสดงอาการผิดปกตินำไปเผา ไม่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมี
ในการนำมาประกอบอาหารหากเป็นผลควรปอกเปลือก และล้างยางออกให้หมด ก่อนนำไปปรุงให้สุกโดยผ่านความร้อนอย่างรวดเร็ว อย่าให้สุกเละจนเกินไป เพราะยิ่งต้ม ยิ่งผัดนานก็จะยิ่งเสียรสชาติ และสูญเสียคุณค่าทางสารอาหารได้.