ทำก่อนเห็นผลก่อน “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ช่วยแก้ปัญหา หน้าแล้ง น้ำท่วม

ทำก่อนเห็นผลก่อน “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ช่วยแก้ปัญหา หน้าแล้ง น้ำท่วม เวลาฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำฝน มาเยอะ มักเจอปัญหาน้ำท่วม แต่ปริมาณน้ำ ที่มีมามาก ก็ไหลลงทะเลไป เพราะไม่มีแหล่ง กักเก็บน้ำ พอถึงหน้าร้อน ก็เจอกับปัญหาภัยแล้ง น้ำไม่พอใช้ สำหรับการทำเกษตร ธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นไอเดีย วิธีแก้ปัญหา น้ำท่วม และ ภัยแล้ง วัตถุประสงค์คือ ช่วยระบายน้ำออก เวลาหน้าฝน มีปริมาณน้ำมาเยอะ และ นำน้ำไปกักเก็บไว้ ใต้ดินเป็นน้ำบาดาล พอถึงหน้าแล้ง ก็สูบน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้

ก่อนจะขุดหลุม เพื่อทำธนาคารน้ำใต้ดิน ต้องเลือกทำเล ที่เหมาะก่อน โดยให้เลือกบริเวณต่ำ ที่มีน้ำไหลผ่าน บริเวณที่เป็น ทางผ่านของน้ำ เวลาน้ำมา จะได้ไหลลงบ่อได้สะดวก และ ระยะเวลา ที่ลงมือทำ ควรเป็นช่วงฤดูแล้ง วิธีการ เริ่มจากขุดบ่อขนาด กว้าง x ยาว 2×2 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร หรือ ขุดลึกลงไป ให้ทะลุชั้นดินเหนียว ลงไปเล็กน้อย

จากนั้นนำยาง ไปวางไว้ที่ก้นบ่อ เพื่อให้พื้นที่ ฐานบ่อมีช่องว่างพอ ให้น้ำซึมลงไป และ ต่อท่อ PVC ลงไป เพื่อระบายอากาศ ออกมาเวลามีน้ำไหล เข้าไป และ ท่อ PVC จะช่วยให้น้ำ ไหลลงสู่บ่อได้ไวขึ้น ตามด้วยนำ ขวดพลาสติก หรือ ขวดแก้ว ที่เหลือใช้ มาใส่ในชั้นบน ยิ่งใส่เยอะยิ่งดี ในส่วนนี้ จะช่วยเพิ่มช่องว่าง และ อากาศในดิน ทำให้น้ำไหล ลงสู่ใต้ดินได้เร็วขึ้น

จากนั้นปิดทับ ด้วยตะแกรงสีฟ้า แล้วถบหินไว้ด้านบน (สาเหตุที่ปิดหลายชั้น เพราะ ชั้นหิน ตะแกรง และ ขวดน้ำ ทำหน้าที่ เป็นเหมือนตัวกรองน้ำ ทำให้กรองเอาแต่ น้ำไหลลงสู่บ่อ ไม่ให้พวกเศษทราย เศษดิน ไหลลงไปปิดทาง ไหลของน้ำ) เสร็จแล้วก็ เก็บงาน และ รายละเอียดด้านข้าง ให้เรียบร้อย เหลือหน้าที่ เป็นชั้นหินชั้นบนสุด ไว้รอรับปริมาณน้ำฝน

ผลปรากฏว่า เมื่อฝนตกหนัก น้ำบนผิวดินจะไหลงไป ในบ่ออย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดประโยชน์ ในด้านการแก้ไขปัญหา น้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี หลักการนี้ จะทำให้น้ำจากที่เคยท่วม ขังบนผิวดิน ไหลซึมลงสู่ใต้ดิน ได้เร็วขึ้น และ ไปสะสมตัว รวมอยู๋กับน้ำในชั้นน้ำบาดาล จากการตรวจ ติดตามและประเมินพบว่า น้ำที่เคยท่วมขัง ในช่วงฝนตก จะไหลลงสู่ใต้ดินภายใน 10 นาที ผิ ดจากเมื่อก่อน กว่าน้ำจะหมดไป ต้องใช้เวลาเป็นวัน หากทำเพิ่มมากขึ้น ช่วงฤดูแล้งพื้นที่ต่างๆ จะสามารถนำน้ำ กลับขึ้นมาใช้ทำการเกษตรได้ ส่วนหน้าฝนชุก น้ำจะไม่เอ่อท่วม

ปีนึงก็เห็นผล จะมีน้ำใต้ดิน ในพื้นที่รอบบ่อ รัศมี 1 ตารางกิโลเมตร เลือกเจาะบ่อบาดาล โดยดูจากทิศทาง การไหลของน้ำใต้ดิน ตามแรงเหวี่ยงของโลก (เหนือไปใต้ ตะวันตกไปตะวันออก) ห่างจากบ่อ ที่ดึงน้ำลงประมาณ 10ถึง20 ม. เมื่อเจาะลงไป จะพบแหล่งน้ำบาดาล เพียงพอสำหรับความต้องการใช้น้ำในหน้าแล้ง

Facebook Comments